รีวิว แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Mazda 2
สวัสดีครับ พี่น้อง ผู้ใช้ Mazda 2 Sky active ทุกคน เอาตามตรงเลยแล้วกัน บทความนี้ผมขอเขียน รีวิว แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Mazda 2 ซึ่งมันคืออุปกรณ์ที่อยู่ด้านใต้ท้องรถของทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตั้งแต่ซื้อรถมา ผมมั่นใจว่าหลาย ๆ คน ยังไม่เคยเห็นมันเลยด้วยซ้ำ นอกจากจะยกรถขึ้นมาดู ไม่ก็มุดเข้าไปมองใต้ท้องรถซะเลย
ก่อนอื่นครับผมขอทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน “ชื่อจริง” ที่เขาเรียก ๆ กัน ในภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่แล้วจะเรียกกันว่า “Under panel” ครับ แต่ผมว่าคนไทยไม่ค่อยรู้จักซักเท่าไหร่ ผมเลยขอเรียกมันต่อจากนี้ว่า “UndeGuard” นะครับ
แล้ว UuderGuard มันมีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร … ?
ถ้าเอาตามตรงแล้ว จะต้องแยกตามเป้าประสงค์ของรถ และการใช้งาน เช่น
- สำหรับรถแข่งขันทางเรียบ (Circuit) จะทำหน้าที่ จัดเรียงกระแสอากาศด้านใต้ท้องรถ เพิ่มการยึดเกาะถนนเป็นหลัก ซึ่งจะติดตั้งเต็ม ตามความยาวใต้ท้องรถ เพื่อให้ได้แรงยึดเกาะสูงสุด เท่าที่จะเป็นไปได้
- สำหรับรถแข่งขันทางฝุ่น (Rally) จะทำหน้าที่ป้องกันความเสียหาย จากการกระทบ กระแทกกับพื้นถนนเป็นหลัก ซึ่งจะปิดเต็มใต้ท้องรถเช่นเดียวกัน
- สำหรับรถเก๋ง รถบ้านใช้งานทั่วไป ก็จะรวบเอา 2 ข้อข้างต้น มารวมกัน แต่ก็ไม่ได้เน้นประสิทธิภาพ ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ และจริง ๆ ก็ต้องพูดถึงภูมิประเทศด้วย ถ้าเมืองหิมะ ต้องขับรถผ่านหิมะ หน้าที่สำคัญที่ต้องพูดถึงก็คือ การปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ซึ่งต้องแข็งแรงพอสมควร แต่ถ้าเมืองไทยก็ตัดความจำเป็นตรงนี้ไปได้เลยครับ
- สำหรับรถกระบะ SUV ก็จะเน้นด้านปกป้องเป็นหลัก และสวยงามตามมาเป็นอันดับ 2
แล้ว UuderGuard (ของเดิม) สำหรับ Mazda 2 หละ มันมีประโยชน์อย่างไร … ?
ข้อ 1:
ก่อนอื่นเลย ต้องขอให้ดูภาพด้านล่างประกอบไปด้วยนะครับ จากที่เห็น (ถ่ายจาก Mazda 2 sky) ภาพนี้ก็พอจะบ่งบอกประโยชน์ข้อแรกได้อย่างชัดเจน ว่า มันสามารถกันสิ่งแปลกปลอมไปโดนเครื่องยนต์ได้ครับ อาจจะเป็นเศษหิน ดิน ทราย กิ่งไม้ ใบหญ้า บลา ๆ ๆ ๆ ซึ่งแน่นอน จากที่มันเป็นพลาสติก ก็อาจจะไม่สามารถปกป้องได้ 100 %
ข้อ 2: เพิ่มการยึดเกาะให้ตัวรถ และประหยัดน้ำมัน
ประเด็นนี้ ค่อนข้างลึกซึ้ง แต่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ครับ ผมขออธิบายเพิ่มเติม…นะครับ
เมื่อรถเคลื่อนที่ อากาศที่ไหลผ่านใต้ท้องรถ จะสัมผัสกับชิ้นส่วนด้านใต้ ซึ่งจะมีชิ้นส่วนที่รบกวน การไหลของกระแสอากาศจำนวนมาก เป็นผลให้อากาศไหลไปปะทะ กับชิ้นส่วน จนเคลื่อนที่ได้ช้าลง ส่งผลให้อากาศมีลักษณะการไหลแบบปั่นป่วน ไม่ราบเรียบ ซึ่งไม่เป็นผลดี ต่อระบบ Aerodynamic ของตัวรถ
และเมื่อมีการติดตั้ง UnderGuard เข้าไปแล้ว จะช่วยให้อากาศสามารถ ไหลผ่านได้ราบเรียบขึ้น มีความเร็วสูงขึ้น และเมื่ออากาศใต้ท้องรถ มีความเร็วสูงขึ้น จะส่งผลให้ความดันอากาศลดลง ทำให้เกิดแรง Downforce กดตัวรถ และเพิ่มแรงยึดเกาะของยางกับถนนได้นั่นเอง นอกจากจะสามารถสร้างแรงกดได้แล้ว การที่อากาศบริเวณด้านล่างของตัวรถ สามารถไหลได้อย่างสะดวก จะช่วยลดแรงต้านอากาศได้อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเป็น Review UnderGuard ของใหม่ให้พี่น้องเลื่อนดูเรื่อย ๆ จนจุใจเลยครับ
ภาพที่ 1
ผมออกแบบและสร้าง ให้เหมาะกับท้องถนนประเทศไทยครับ ภาพแรกคือภาพหลังจากที่เราติดตั้งเสร็จแล้ว โดยวัสดุใช้เป็นอลูมิเนียมเกรดพิเศษ นำเข้าจากประเทศบาเรน ที่ผมเลือกใช้อลูมิเนียมตัวนี้ เพราะ สามารถทนการกัดกร่อนจากน้ำทะเลได้ดี ซึ่งราคาแพงกว่าอลูมิเนียมทั่วไป มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่ดสูง ระบายความร้อนได้ดี ส่วนเกรดอะไรนั้น ขอปิดเป็นความลับทางการค้านะครับ
ภาพที่ 2
ภาพนี้ต้องการให้มองเห็นครีบระบายความร้อนครับ ซึ่งผมออกแบบเป็นพิเศษโดยเฉพาะ ลงทุนสร้างแม่พิมพ์ใหม่หมด เป็นเวอร์ชั่นที่ 2 จากการทดสอบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทดสอบจากจริงจากการใช้งาน (ลดได้มากสุด 5 องศา) แบบนี้สามารถดึงความร้อน ออกจากห้องเครื่องได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับเครื่องยนต์แน่นอน เพราะสามารถลดภาระของระบบระบายความร้อนได้ดีขึ้น ถ้ามองกันยาว ๆ มันจะสามารถยืดอายุการทำงานของพัดลมหน้าเครื่องได้อีกด้วยครับ
ภาพที่ 3
นี่เลยครับ เจ้าตัวปัญหาที่หลาย ๆ คนเจอกัน เพราะเจ้ากิ๊บพลายติกสีดำ จะทำหน้าที่ยึด UnderGuard ของเก่าไว้ ซึ่งจุดเด่นของเค้าเลยคือ “หลุดง่าย” ใช้ไขควงงัดออกก็ชอบแตกหัก ถอดแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะส่วนใหญ่แล้วมันจะไม่แน่นเหมือนเดิม ผมเลยเปลี่ยนเป็นเกลียวเหล็กซะเลย ซึ่งตรงนี้ ผมไม่ได้เจาะตัวถังใด ๆ ทั้งสิ้นเลยนะครับ ใช้รูเดิมทั้งสิ้น แบบนี้มั้นใจได้แน่นอนเรื่องความทนทาน
ภาพที่ 4
ภาพนี้เราเริ่มถอดกันเลยครับ ซึ่งของเดิมถอดง่ายครับ ใช้บล็อกเบอร์ 10 กับไขควงงัดกิ๊บ ก็ดึงออกมาได้เลย ขั้นตอนนี้ต้องระวังนิดนึงนะครับ เพราะฝุ่นเยอะมาก ใส่แว่นตาก็จะดี แถมบางทีมีเศษกระดูด เศษอาหารของเจ้าหนูที่ชอบแอบมาสร้างบ้านในรถก็มี เห็นเศษติดมาบ้างก็เยอะครับ
ภาพที่ 5
ภาพนี้ผมต้องการชี้ให้เห็นว่า อ่างน้ำมันเกียร์มันเตี้ยแค่ไหน ผมเอาไม้บรรทัดวัด มันห่างจากคานเหล็ก ที่ยึดพลาสติกแค่ 15 mm เอง เอานิ้วดันหน่อยเดียวก็ถึงละ อย่าว่าแต่การกระแทกเลยครับ แต่ก็ยังดีนะครับ ที่อ่างเค้าเป็นเหล็ก เลยทนหน่อย ไม่ค่อยแตกง่ายเหมือนอ่างอลูมิเนียม แต่ก็นะ เตี้ยขนาดนี้ โดนแรง ๆ ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน
ภาพที่ 6
นี่เลยครับ ขั้นตอนสำคัญ ที่จะทำให้ UnderGuard ติดแน่น ทนนาน คือการติดตั้งเจ้า Rivet Nut หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเกลียวเหล็กตัวเมีย ทำให้เราถอดเข้าถอดออกได้เรื่อย ๆ ไว้ใจได้ ไม่หลุด ไม่พัง ขันทอร์กได้ตามค่ามาตรฐาน (9 N.m)
ภาพที่ 7
ภาพนี้เริ่มประกอบแล้วครับ (จริง ๆ ก็ใกล้เสร็จแล้ว หาภาพที่เหมาะไม่ได้ 555) จับวางทาบ หารูให้เจอแล้วขันน็อตเข้าไปเลยจร้า แบบนี้พ่อบ้านใจกล้า คนเดียว ก็ทำได้ ช่างที่ไหนก็เป็น เพราะเราทำไว้ตรงรุ่นครับ จับ ทาบ ใส่ ง่าย ๆ แล้วก็ขันน็อตให้ได้ตามค่า ซึ่งผมจะเขียนไว้ ที่ชิ้นงาน แต่ในภาพนี้มองไม่เห็นเพราะยังไม่ได้ประกอบ (อยู่ตรงช่องดำ ๆ ซ้ายมือ)
ภาพที่ 8
ชิ้นส่วนสุดท้ายจร้า ที่เห็นห้อย ๆ มันคือ ช่อง “Easy service” เอาไว้เปลี่ยนถ่ายของเหลว เอาไว้เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง ซึ่งบอกตามตรงครับ อันนี้ถูกใจช่างแน่นอน เพาะ ถอดก็ง่าย ใส่ก็ง่าย ไม่หลุดหายเหมือนของเดิม เหมือนหลาย ๆ คัน บางครั้งแยกขายก็ไม่มี ต้องเสียตังซื้อใหม่ทั้งแผ่นถ้าจะให้ครบ
ก็จบแล้วครับสำหรับการรีวิว คงถึงคิวที่พี่น้อง ที่ต้องพิจารณาแล้วหละครับ จะใส่ดีมั้ย…? หรือจะปล่อยมันดี แต่ถ้ามีปัญหาเมื่อไหร่ นึกถึง UnderGuard นะคร้าบ
” UnderGuard ทนทาน ไว้ใจได้ ไม่เคยหลุดให้รำคาญ รับประกันตลอดอายุการใช้งาน คืนเงินภายใน 30 วัน หากใส่แล้วไม่พอใจ “
สนใจติดตั้ง คลิก Link แอดไลน์ได้เลยคร้าบ https://line.me/R/ti/p/%40tur6078d
ดูรีวิวจากลูค้าที่ติดตั้งไปแล้วได้ที่นี่เลยคร้าบ