UnderGuard แผ่นแผ่นปิดใต้ห้องเครื่องซิ่ง ของ Honda Civic FC/FK

8611
0

แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Civic FC/FK

ขอกราบสวัสดี พี่น้องชาวไทย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ All new Civic หรือที่คุ้นหูติด ปากกันดี ในระหัสขานนาม ตามต้นกำเนิดว่า Honda Civic FC/FK  จากที่เมื่อก่อนใช้ระหัสกันว่า FD  และ FB ตามลำดับ 

จากที่ดูคร่าว ๆ แล้ว มิติตัวถังของ FC/FK หรือแม้ตัวพ่อ Type R ก็จะดูใหญ่ คล้ายกับรุ่นพี่ Accord แถมยังเป็นรุ่นที่มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดด เรียกได้ว่า  “กระโดดคราวนี้ข้ามมหาสมุทรกันเลยทีเดียว”  จากเดิมเป็นเครื่อง NA มาเป็นเครื่อง Turbo (NA หมายถึงเครื่องยนต์ที่ไม่มีช่วยระบบประจุอากาศ) 

Civic type R

แบบนี้นอกจากชื่อเสียงอันโดดเด่น และโด่งดังระดับโลก กับระบบ วาล์วแปรผัน หรือที่คุ้นหูกันว่า ระบบ Vtec แล้ว รุ่นใหม่นี้มันยังมีหอยช่วยปั่นอากาศ ดันเข้าไปเพิ่ม กลายเป็น “Vtec Turbo” ที่มีแรงม้าเพิ่มเข้าไปอีกหลายตัว ในขณะที่ ขนาดเครื่องยนต์ไม่เพิ่มขนาด แต่กลับสวนทางกับแรงม้า ก็นับว่าสมแล้ว กับที่เป็นรถยนต์ที่ขนานนามว่า เป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า (เดิมจากโรงงาน) ที่ตอนนี้ “แรงที่สุดในโลก”

 

เครื่องยนต์ Civic type R

ก่อนจะออกน้ำออกทะเลไปไกล เข้าเรื่อง “Underbody หรือ แผ่นปิดใต้ท้อง” เลยละกัน เรื่องก็คือว่า “Civic FC/FK คือ Generation ใหม่ ที่มี Underbody แผ่นปิดใต้ท้องเต็ม และราบเรียบ ลู่ลม ที่สุดเท่าที่เคยมี Civic ออกมาเฉิดฉายบนโลกใบนี้” เรียกได้ว่า ตั้งแต่ด้านหน้า ยาวไปถึงด้านท้ายเลยทีเดียว ซึ่งแอบกระซิบนิดนึงว่า ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่มีแต่ฝั่งยุโรป และ Honda น่าจะเป็นค่ายญี่ปุ่น ค่ายเดียวที่ให้ความสำคัญ และทำออกมาแล้ว

 

ว่าแต่…. แล้วมันดียังไง ….?

ผมเคยคุยกับพี่ที่ผมรู้จักคนนึงครับ เค้าเคยไปเรียนที่เยอรมันนี ประเทศนี้รู้กันดีว่าเป็นสุดยอดนวัตกรรมยานยนต์ ซึ่งพี่เค้ามีความสนใจและค่อนข้างเชี่ยวชาญในเรื่อง อากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) พี่เค้ากล่าวว่า “น้องรู้มั้ย ว่า แรงกด (Downforce) ที่ได้จากรูปทรงทั้งหมดของรถ มาจาก แผ่นใต้ท้อง (Underbody) ถึง 45% เลยนะ ”
โอ้วแม่เจ้า… !!! สุดจัดปลัดบอก ถ้าพี่ไม่บอกผมคงต้องอยู่ในคอกอีกนาน ก็นั่นแหละครับท่านผู้ชม อารมณ์คล้ายกับปีกเครื่องบินแต่ให้นึกถึงปีกเครื่องบินกลับหัว แทนที่จะเกิดแรงยก ก็กลับสวนทาง ทำให้เกิดแรงกดแทน และด้วยขนาดพื้นที่ ขนาดใหญ่มาก ซึ่งยาวตลอดตัวรถ ก็คงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงสร้างแรงกด (Downforce) ได้มากขนาดนั้น

civic_type_r_Aerodynamic

แล้วมันมีดีแค่นี้จริง ๆ หรอ….?

“ดูก่อนท่านทั้งหลาย” นี่คือใต้ท้องรถของ Civic FC/FK ดูรวม ๆ แล้วมีเสน่ห์ ว่าแต่จะสื่อถึงอะไร….?
ผมอยากให้ลองจินตนาการถึงน้ำไหลในลำธาร 2 ลำธารที่ต่างกัน อันแรกมีกิ่งไม้ โขดหิน เต็มไปหมด อีกอัน สะอาดสะอ้าน ไม่มีสิ่งกีดขวาง อันไหนน้ำไหลได้ดีที่สุด ก็เปรียบได้กับใต้ท้องรถเหมือนกันครับ
ยิ่งเรียบ รถยิ่งแหวกอากาศได้ดี และถ้าพูดถึงสิ่งนี้จะหนีค่า Cd ไปไม่ได้ ซึ่งค่า Cd ย่อมากจาก “Coefficient of Drag” หรือสัมประสิทธิ์แรงฉุดของอากาศ กล่าวคือว่า ยิ่งมาก ยิ่งต้านลม และตรงกันข้าม ยิ่งน้อย ยิ่งลู่ลม รถก็ยิ่งไปได้ราบรื่นรวดเร็ว ซึ่งถ้าเปรียบกับรุ่นก่อนหน้า ก็ถือว่า ลดค่า Cd (หรือสัมประสิทธิ์แรงฉุดของอากาศ) ใน Civic FC/FK ได้ถึง 12 % เลยทีเดียว

แผ่นปิดใต้เครื่อง_Civic_FC-FK_UnderGuard
แผ่นปิดใต้เครื่อง_Civic_FC-FK_UnderGuard

เจาะลึกถึงข้างแผ่นปิดใต้ท้อง Civic (Underbody) หน่อยละกัน

จากภาพด้านบน จะถ่ายมาจากใต้ท้องรถ มุมกล้องจากด้านหน้าไปท้าย แสงวาว ๆ ขาว ๆ นั้นทำจากอลูมิเนียมหน้าตาดี หนา 0.4 mm ปั๊มขึ้นรูป มีครีบเป่าลมระบายความร้อน แถว ๆ ท่อไอเสีย ถัดไปด้านท้ายก็คือ พลาสติดสีดำ ทำจากอะไรคล้าย ๆ พลาสติกผสมกำมะหยี่นุ่ม ๆ  ซึ่งบอกเลยว่า Honda ทุ่มทุนสร้างสุด ๆ ณ จุด ๆ นี้ บอกได้คำเดียวเลยว่า “งานดี” แบบตัวโต ๆ

แต่ แต่ แต่ วันนี้ พี่ไม่ได้มาคนเดียว

 จากที่หลาย ๆ คนชอบ Honda เพราะว่า แต่งแล้วซิ่ง วิ่งแล้วเร็ว และ Step ต้น ๆ ที่ต้องทำกันนั่นก็คือ เอารถไปโหลด ให้รถเตี้ย ล้อมุดซุ้ม แต่ที่น่ากลุ้มไม่ใช่อะไร ก็เจ้าแผ่นปิดใต้ท้องของเดิม ชอบหลุดลากพื้น ครูด กระแทกหิน ดินทราย ลาโลกไป เพราะมันหนา แค่ 0.4 mm ไง เลยไม่ทน

 


ช่วงนี้ขายของจร้า เอาใจ สาย Honda Civic FC/FK

ขอเสนอ “แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Civic FC/FK”
ปกป้องห้องเครื่อง กันท้องลาย หายห่วงใน 20 นาที 

แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Civic FC/FK
แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Civic FC/FK

แล้ว แผ่นแผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง Civic FC/FK มันดีกว่าของเดิมยังไง…?

แข็งแรงกว่าเดิม 3 เท่า เพราะของเดิมบางมาก (เพียง 0.4 mm) ใช้การปั๊มขึ้นรูปให้เป็นทรง แต่ความคงทนไม่ค่อยพอ เลยจัดของใหม่ ให้หนาหว่าเดิมไปเลย (1.5 mm) เพื่อเอาใจรถโหลดเตี้ย สายเลีย หรือพวกพกถุง (ช่วงล่างถุงลม)

กำจัดจุดอ่อน เพราะเดิมแล้ว แผ่นใต้ท้องอลูมิเนียมบาง ๆ เค้าจะฝากจุดยึดไว้กับ “พลาสติก” วิ่งไป ก็แกว่งกระพือ ไม่นานก็ย้อย ห้อยลงเป็นกระสือลากใส้ เลยจับย้ายจุด และเปลี่ยนวัสดุและจับยึดใหม่ เอาไปฝากไว้ที่คานเหล็กใกล้ ๆ ให้ปกป้องได้เต็มที่ คราวนี้ “ไม่มีหลุด”

ทนทานนานปี เพราะเป็นอะลูมิเนียม ไร้สนิม น้ำหนักเบา เอาจริง ๆ หนักเพียง 2.5 kg (เท่ากับ MacBook AIR 2 เครื่อง)

สะดวกสบาย ถ่ายน้ำมันเครื่องง่าย เพราะมีช่อง “Easy service” เปิด-ปิด รวดเร็ว ไม่ถึง 1 นาที (ไม่ต้องถอดทั้งแผ่น) ง่ายแบบนี้ ตุ๊กตาหน้ารถก็ทำได้

แผ่นปิดใต้เครื่อง UnderGuard7
แผ่นปิดใต้เครื่อง UnderGuard7

งานเนี๊ยบ ตรงรู ตรงรุ่น เข้ารูปเป๊ะ..!! เพราะออกแบบด้วยความใสใจอย่างดี และใช้เครื่องเลเซอร์ ราคาหลาย 10 ล้าน นำเข้าจากญี่ปุ่น

ถ่ายเทอากาศดี ระบายความร้อนเยี่ยม แม้กระทั่งตอนรถจอด ด้วยครีบระบายอากาศ AirFlow (ออกแบบให้คล้ายกับครีบของ Super car Lamborghini) เมื่อรถจอด จะทำหน้าที่เปิดช่องระบายความร้อนขาออก และถ้าในขณะรถวิ่ง ก็จะเกิดภาวะสุญญากาศ ดึงความร้อนจากห้องเครื่องลงสู่ใต้ท้องรถ แบบนี้แล้วถือว่าเป็นผลดีกับขาซิ่งแน่นอน สามารถซัดต่อได้ยาว ๆ

แผ่นปิดใต้เครื่อง UnderGuard (AIR Flow)

มีช่องลมเสริม AIR JET ช่วยผลักดันอากาศที่ตกค้างหลังเครื่อง และผลักดันอากาศที่อยู่ใกล้ ๆ ท่อไอเสีย ซึ่งพูดง่าย ๆ ว่า เอาลมเย็นมาขับไล่ลมร้อน ก็เป็นการเอาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุดนั่นเอง 

แผ่นปิดใต้เครื่อง UnderGuard (Air Jet)

ทดสอบมาแล้ว ลดอุณหภูมิอากาศได้มากสุด 5 องศา (คิดเล่น ๆ ถ้ากับคน 30 องศา ลดเหลือ 25 ก็ร้อนมาหนาว ดี ๆ นี่เอง)

หมดกังวลเรื่องหลังการขาย ครูด ชน บุบ บู้บี้ พอซ่อมได้ บริการดูแลให้ฟรี ไม่มีชาร์จ ค่า Service ตลอดอายุการใช้งาน

อย่ารอช้า ชิ้นงานคุณภาพ ทั้งหมดที่ว่ามาแค่ 4,000 บาท แต่ถ้าเครื่องพังมา อาจเสียตังหลักแสน คงไม่ดีแน่
ใส่แล้วสวยงาม หล่อเหลาเกินราคา มีหลายสาขา อย่ารอช้าทัก line มาเลย….!!!

แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง UnderGuard Civic FC/FK
แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง UnderGuard Civic FC/FK

ปล.สนใจติดตั้ง หรือเป็นตัวแทนจำหน่าย กดปุ่ม ทัก Line เลยครับ >>

line_UnderGuardเยี่ยมชม Fanpage ได้ที่

แผ่นปิดใต้ห้องเครื่อง UnderGuard
Fanpage UnderGuard

Warning: A non-numeric value encountered in /home/underguard/domains/underguard.net/public_html/wp-content/themes/Newsmag/includes/wp_booster/td_block.php on line 352